วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า

                   สวัสดีคะเพื่อนๆ วันนี้จะมารีวิวการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากันนะคะ
มาดูกันคะว่า การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า เราจะวัดจาก Power Suppy สำหรับอุปกรณ์วัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ มัลติมิเตอร์แบบตัวเลขนะคะ


      1. ถอดอุปกรณ์ต่างๆ ออกให้หมดออกเพื่อความสะดวกในการวัดนะคะ
      2. ใช้แหนบเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือ สายสีเขียวกับสายสีดำ


   3.  นำสายสีดำ หรือ ขั้วลบ ไปเสียบในช่องน็อตของเพาเวอร์ซัพพลาย เพื่อความสะดวกในการจับสายสีแดง
  
4. ใช้สายสีแดง หรือขั้วบวก เสียบเข้ากับพินที่เราต้องการวัด แล้วดูค่าเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคะ





  การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าเสร็จแล้วนะคะ จริงๆ ถ้าเราไม่เคยทำอาจจะดูว่ายาก แต่ถ้าเราได้ลงมือปฏิบัติก้ง่ายนิดเดียวคะ ... สำหรับวันนี้ถ้ามีขอผิดพลายประการใด ขออภัยด้วยนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard Acer รุ่น L4S5MG/651+

การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์จาก Mainboard  Acer  รุ่น  L4S5MG/651+ 
                ...สวัสดีคะ วันนี้เราจะมารีวิว การเปิด - ปิด คอมพิวเตอร์ และการรีเชตคอมพิวเตอร์ โดยเราจะทำโดยถอดเคสออกให้หมดนะคะ ให้เหลือแค่เมนบอร์ด กับอุปกรณ์ต่างๆ โดยเราจะใช้ไขควงในการเปิด - ปิด และรีเซตนะคะ  เพื่อนๆ คงอยากรู้ใช่ไหมคะ ว่า แค่ไขควงอันเดียวเนี้ยย ...จะทำได้จึงหรอออออ  ตามกันไปดูเลยคะ...^____^""


             อันดับแรก เราก้จะแยกชิ้นส่วนต่างๆ ออกให้หมดนะคะ ให้เหลือแค่เมนบอร์ด แต่ก้ยังประกอบอุปกรณ์ต่างๆ อยู่นะคะ เพียงแต่ ถอดเคสออกให้หมดเฉยๆ


          
            การที่เราจะเปิด - ปิด รีเซตคอมพิวเตอร์นั้น เราต้องศึกษาดุ Data Sheet ให้เข้าใจก่อนนะคะ สำหรับ Data sheet นี้สามารถ ดาวโหลดในอินเตอร์เน็ตได้เลยนะคะ เพียงเราใส่รุ่น และยี่ห้อของเมนบอร์ด ตามคอมพิวเตอร์ของเรา ที่เราจะสาธิตวันนี้ เป็น Acer  รุ่น  L4S5MG/651+ นะคะ

 การเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
               การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เราจะใช้ไขควงแตะ ไปที่ PANEL1 PIN ช่องที่ 6 และ 8 แล้วเครื่องก็จะทำงาน แต่ถ้าเราจะปิด เราก็ใช้ไขควงแตะ ไปที่ PANEL1 PIN ช่องที่ 6 และ 8 แต่แช่ไว้ จนกว่าเครื่องจะไม่ทำงาน


การรีเชต เครื่องคอมพิวเตอร์
              การรีเชต เครื่องคอมพิวเตอร์ เราจะใช้ไขควงแตะ ไปที่ PANEL1 PIN ช่องที่ 5 และ 7 แล้วเครื่องก็จะรีเชตคะ


           เป็นไงกันบ้างคะ บางทีเราก็คิดนะ ว่ามันทำได้จริงหรอ คือเราไม่เคยทำ จะทำได้ไหม พอเรารู้วิธีแค่นั้นคะ ง่ายนิดเดียว เพียงแต่เราใส่ความกล้าที่จะทำเขาไปหน่อย แต่ยังไง การที่เราจะทำอะไร ก็ควรระมัดระวังด้วยนะคะ เพราะการทำงานของคอมพิวเตอร์ภายนอกเคส เราไม่ควรนำไขควง หรือมือ เขาไปจิ่มในส่วนต่างๆ เพราะมันจะเกิดอันตรายสำหรับตัวเราเอง และคอมพิวเตอร์ของเราด้วย อาจจะทำให้ไฟช็อตเรา และทำให้คอมพิวเตอร์เราไม่สามารถใช้งานต่อได้อีก ถ้าจะลองทำตามรีวิว ควรมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้วยนะ สุดท้ายนี้ ก็จบการรีวิว เพียงเท่านี้คะ แล้วเจอกันรีวิวหน้านะคะ บายๆ คะ ^____^"

รีวิว การเปลียนพัดลม Power Supply

             สวัสดีคะ..... วันนี้ เราจะมารีวิวการเปลียนพัดลม Power Supply ซึ่งเราไม่เคยเปลี่ยนเลยคะ ฮ๋าๆๆ
มันเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่เราเคยทำ ที่ก้าวข้ามความกลัว คำว่า ไม่กล้าทำ ทำไม่เป็นคะ เรามาดูกันคะว่าการเปลี่ยนพัดลม Power Supply  ทำยังไง .....



                                            นี้คือโฉมหน้าบัดดี้ที่ทำด้วยกันนะคะ 555

Power Supply 
            แหล่งจ่ายไฟ หรือ " เพาเวอร์ซัพพลาย " เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำให้กับอุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  ( PC )  และส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ ( PC ) เนื่องจากมีมาตรฐานการ  คำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์( PC )ค่อนข้างจะแน่นอน  และมีความเชื่อถือได้ คือ ถ้านำมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วสามารถทำงานได้อย่างดี
                 ตัวเพาเวอร์ซัพพลาย  มี  2  เรื่องที่สำคัญก็คือ  ะเภท และ ขนาด
               1.ประเภทในที่นี้  หมายถึง  แรงดันไฟฟ้าที่เพาเวอร์ซัพพลายนั้นจ่ายออกมาและขั้วต่อสำหรับเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งจะต้องเลือกให้ตรงกับ เมนบอร์ดที่ใช้ด้วย ก็คือจะต้องเลือกว่าเป็นแบบ AT หรือ ATX
             2. ขนาดใหญ่หรือเล็ก (แม้ว่าจะแปรผันกันก็ตาม) หมายถึง กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถจ่ายได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะหมายถึงกำลังไฟฟ้ารวมทั้งหมดทุกแรงดันไฟฟ้าที่เพาเวอร์ซัพพลายนั้นสามารถจ่ายออกมาตัวจะมีอยู่  3 ขนาดถือขนาดเล็ก 200 วัตต์ , กลางซึ่งมีมากที่สุด 250 วัตต์ และใหญ่ 300วัตต์ 

        หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
               กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง 220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้ (และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ  (อ้างอิง:http://www.viangtan-sao.go.th/usonet/index.php/home/2-uncategorised/10-power-supply)
              ซึ่งก่อนที่เราจะทำการเปลี่ยน คือเราไม่รู้วิธีทำมาก่อน ฉะนั้น จึงมีผู้เชี่ยวชาญทำการเปลี่ยนให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนคะ
 
หลังจากที่เราดูเพื่อนทำแล้ว ก็ถึงคิวของตัวเองบ้างคะ
อุปกรณ์ในการทำนะคะ



1. ฟองน้ำเปียง  เอาไว้ทำเช็ดความสะอาดเรื่องบัดกรีที่มีตะกั่วติดอยู่
             2. หัวแร้ง   หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการบัดกรี มีหน้าที่ให้ความร้อนเพื่อละลายตะกั่ว พอตะกั่วละลายแล้วเอาไปเชื่อมกับสายไฟ หรือขาของอุปกรณ์ที่จะบัดกรี
            3. กระบอกดูดตะกั่ว ใช้สำหรับดูดตะกั่วที่ไม่ต้องการออกจากแผงวงจร
           4. ตะกั่วบัดกรี  ตะกั่วบัดกรีเป็นแบบ 60/40 ตัวเลข 60/40 นี้ก็คือ ส่วนผสมของตะกั่ว และดีบุกคือ มีดีบุก 60 เปอร์เซ็นต์ และตะกั่ว 40 เปอร์เซ็นต์
            5. ฟลักซ์  ใช้ทำความสะอาดหัวแร้งที่มีตะกั่วติดอยู่


ขั้นตอนแรกนะคะ เราก็จะทำการพังงงงง 555 ไม่ใช่คะ ทำการแกะเอาพัดลมออกมานะคะ


 

ขั้นที่ 2 เราจะเอาสายไฟสีดำกับสีแดงที่เชื่อมยุกับตะกั่ว โดยการใช้หัวแร้ง ทำให้ตะกั่วละลาย แล้วกระบอกดูดตะกั่วดูดตะกั่ว ดูดตะกั่วขณะที่ตะกั่วยังร้อนอยู่ การทำงานกับตะกั่ว ห้ามดมควันของตะกั่วนะคะ เพราะจะทำให้เกิดอาการเมาตะกั่วคะ 

ขั้นที่ 3 เราก็จะทำการเปลี่ยนพัดลมกับกลุ่มของเพื่อนะคะ โดยเราก้จะนำเอาพัดลมมาใส่เหมือนเดิม แล้วก้เอาสายดำใส่ที่เดิมนะคะ จำให้ได้ด้วยนะคะ ว่าสายดำอยู่ตรงไหน ก็ทำการเชื่อมโดยใช้หัวแร้งเขี่ยตะกั่วให้ติดกับสายสำดำและสีแดง และการเชื่อมนี้นะคะ อย่าให้สายสีดำและสีแดงติดกัน เพราะจทำให้เกิดการลัดวงจร พัดลมก็จะไม่ทำงานคะ  การทำงานกับตะกั่ว ห้ามดมควันของตะกั่วนะคะ เพราะจะทำให้เกิดอาการเมาตะกั่วคะ 




ขั้นที่ 4 เมื่อต่อสายสีดำกับสีแดงเสร็จแล้ว เราก็จะดำเนินการทดสอบดูพัดลมว่าทำงานไหมนะคะ  โดยยังไม่ต่อเข้ากับเคส แต่เราจะใช้วัตถุที่เป็นโลหะ มาเสียบใส่ช่องที่ 4 และช่องที่ 5 นะคะ ข้อควรระวังนะคะ ขณะที่ทำการทดสอบห้ามไปจับที่มีประจุไฟฟ้านะจ๊ะ เดี่ยวไฟช็อตเอาคะ


ขั้นที่ 5 หลังจากที่เราทำการทดสอบดูแล้ว เราก็ทำการประกอบเข้าที่เดิมคะ แล้วก็ทดสอบกับเคสอีกครั้ง ก็ทำการเปลี่ยนพัดลม Power Supply  เสร็จสิ้นแล้วนะคะ 



วันนี้อาจทำงานช้าหน่อย เพราะอากาศวันนั้นหนาวมากคะ แต่งานของเราก็สำเร็จด้วยดี สำหรับวันนี้สวัสดีคะ

รีวิว เกี่ยวกับการตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำ LAB (18-มค-59)

  สวัสดีคะ   วันนี้เราได้ภารกิจจากอาจารย์ผู้สอน ให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กันคะ การทำงานวันนี้ก็ ต้องใช้แรงมากเลยที่เดียว เป็นงานถนัดอยู่แล้วคะ 55 ใช้แรงงาน มากกว่าสมอง เริ่มกันเลยนะคะ การตรวจสอบนี้ ให้จับกลุ่มกัน 3 คนคะ
 
Case หมายเลขเครื่อง 28
ยี่ห้อ : Acer รุ่น : Aspire T310
เริ่มถอดกันเลยคะ
  



อันแรกที่ถอดได้คือ CD-ROM คะ 
ยี่ห้อ : Acer รุ่น : LTN-5291S
S/N(Serial Number) : 38164401211



  

 ฮาร์ดดิส 40 GB คะ 
ยี่ห้อ : Maxtor รุ่น : -
S/N(Serial Number) : 6E40L07110L3


แรม 1 GB คะ 
ยี่ห้อ : Kingmax รุ่น : MPXD42F- D8KD4BPKAS
S/N(Serial Number) : E88U00407001




การ์ดแลน คะ 
ยี่ห้อ : Acer รุ่น : F-11561(+)R12 



เมน บอร์ด คะ 
ยี่ห้อ : - รุ่น : -
S/N(Serial Number) : MBS030700944303A7EEK00


สายแพ


 

เมน บอร์ด คะ 
ยี่ห้อ : Acer รุ่น : INTEL PENTIUM 4


ซิงค์ ระบายความร้อน คะ 
ยี่ห้อ : Intel รุ่น : -

หลังจากที่แกะออกแล้วนะคะ การแกะเป็นอะไรที่ง่ายมาก แต่การประกอบให้ครบนิสิคะ ยากมากคะ 












และแล้วภารกิจของเราก็เสร็จสมบูรณ์ นะคะ ประกอบเครื่องและเปิดเครื่องโดยไม่มีระเบิดเกิดขึ้น 55 
และเครื่องก็ไม่ติดด้วยคะ 

......................................................................จบการรีวิวคะ