วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิว การเปลียนพัดลม Power Supply

             สวัสดีคะ..... วันนี้ เราจะมารีวิวการเปลียนพัดลม Power Supply ซึ่งเราไม่เคยเปลี่ยนเลยคะ ฮ๋าๆๆ
มันเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่เราเคยทำ ที่ก้าวข้ามความกลัว คำว่า ไม่กล้าทำ ทำไม่เป็นคะ เรามาดูกันคะว่าการเปลี่ยนพัดลม Power Supply  ทำยังไง .....



                                            นี้คือโฉมหน้าบัดดี้ที่ทำด้วยกันนะคะ 555

Power Supply 
            แหล่งจ่ายไฟ หรือ " เพาเวอร์ซัพพลาย " เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำให้กับอุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  ( PC )  และส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ ( PC ) เนื่องจากมีมาตรฐานการ  คำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์( PC )ค่อนข้างจะแน่นอน  และมีความเชื่อถือได้ คือ ถ้านำมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วสามารถทำงานได้อย่างดี
                 ตัวเพาเวอร์ซัพพลาย  มี  2  เรื่องที่สำคัญก็คือ  ะเภท และ ขนาด
               1.ประเภทในที่นี้  หมายถึง  แรงดันไฟฟ้าที่เพาเวอร์ซัพพลายนั้นจ่ายออกมาและขั้วต่อสำหรับเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งจะต้องเลือกให้ตรงกับ เมนบอร์ดที่ใช้ด้วย ก็คือจะต้องเลือกว่าเป็นแบบ AT หรือ ATX
             2. ขนาดใหญ่หรือเล็ก (แม้ว่าจะแปรผันกันก็ตาม) หมายถึง กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถจ่ายได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะหมายถึงกำลังไฟฟ้ารวมทั้งหมดทุกแรงดันไฟฟ้าที่เพาเวอร์ซัพพลายนั้นสามารถจ่ายออกมาตัวจะมีอยู่  3 ขนาดถือขนาดเล็ก 200 วัตต์ , กลางซึ่งมีมากที่สุด 250 วัตต์ และใหญ่ 300วัตต์ 

        หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
               กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง 220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้ (และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ  (อ้างอิง:http://www.viangtan-sao.go.th/usonet/index.php/home/2-uncategorised/10-power-supply)
              ซึ่งก่อนที่เราจะทำการเปลี่ยน คือเราไม่รู้วิธีทำมาก่อน ฉะนั้น จึงมีผู้เชี่ยวชาญทำการเปลี่ยนให้ดูเป็นตัวอย่างก่อนคะ
 
หลังจากที่เราดูเพื่อนทำแล้ว ก็ถึงคิวของตัวเองบ้างคะ
อุปกรณ์ในการทำนะคะ



1. ฟองน้ำเปียง  เอาไว้ทำเช็ดความสะอาดเรื่องบัดกรีที่มีตะกั่วติดอยู่
             2. หัวแร้ง   หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการบัดกรี มีหน้าที่ให้ความร้อนเพื่อละลายตะกั่ว พอตะกั่วละลายแล้วเอาไปเชื่อมกับสายไฟ หรือขาของอุปกรณ์ที่จะบัดกรี
            3. กระบอกดูดตะกั่ว ใช้สำหรับดูดตะกั่วที่ไม่ต้องการออกจากแผงวงจร
           4. ตะกั่วบัดกรี  ตะกั่วบัดกรีเป็นแบบ 60/40 ตัวเลข 60/40 นี้ก็คือ ส่วนผสมของตะกั่ว และดีบุกคือ มีดีบุก 60 เปอร์เซ็นต์ และตะกั่ว 40 เปอร์เซ็นต์
            5. ฟลักซ์  ใช้ทำความสะอาดหัวแร้งที่มีตะกั่วติดอยู่


ขั้นตอนแรกนะคะ เราก็จะทำการพังงงงง 555 ไม่ใช่คะ ทำการแกะเอาพัดลมออกมานะคะ


 

ขั้นที่ 2 เราจะเอาสายไฟสีดำกับสีแดงที่เชื่อมยุกับตะกั่ว โดยการใช้หัวแร้ง ทำให้ตะกั่วละลาย แล้วกระบอกดูดตะกั่วดูดตะกั่ว ดูดตะกั่วขณะที่ตะกั่วยังร้อนอยู่ การทำงานกับตะกั่ว ห้ามดมควันของตะกั่วนะคะ เพราะจะทำให้เกิดอาการเมาตะกั่วคะ 

ขั้นที่ 3 เราก็จะทำการเปลี่ยนพัดลมกับกลุ่มของเพื่อนะคะ โดยเราก้จะนำเอาพัดลมมาใส่เหมือนเดิม แล้วก้เอาสายดำใส่ที่เดิมนะคะ จำให้ได้ด้วยนะคะ ว่าสายดำอยู่ตรงไหน ก็ทำการเชื่อมโดยใช้หัวแร้งเขี่ยตะกั่วให้ติดกับสายสำดำและสีแดง และการเชื่อมนี้นะคะ อย่าให้สายสีดำและสีแดงติดกัน เพราะจทำให้เกิดการลัดวงจร พัดลมก็จะไม่ทำงานคะ  การทำงานกับตะกั่ว ห้ามดมควันของตะกั่วนะคะ เพราะจะทำให้เกิดอาการเมาตะกั่วคะ 




ขั้นที่ 4 เมื่อต่อสายสีดำกับสีแดงเสร็จแล้ว เราก็จะดำเนินการทดสอบดูพัดลมว่าทำงานไหมนะคะ  โดยยังไม่ต่อเข้ากับเคส แต่เราจะใช้วัตถุที่เป็นโลหะ มาเสียบใส่ช่องที่ 4 และช่องที่ 5 นะคะ ข้อควรระวังนะคะ ขณะที่ทำการทดสอบห้ามไปจับที่มีประจุไฟฟ้านะจ๊ะ เดี่ยวไฟช็อตเอาคะ


ขั้นที่ 5 หลังจากที่เราทำการทดสอบดูแล้ว เราก็ทำการประกอบเข้าที่เดิมคะ แล้วก็ทดสอบกับเคสอีกครั้ง ก็ทำการเปลี่ยนพัดลม Power Supply  เสร็จสิ้นแล้วนะคะ 



วันนี้อาจทำงานช้าหน่อย เพราะอากาศวันนั้นหนาวมากคะ แต่งานของเราก็สำเร็จด้วยดี สำหรับวันนี้สวัสดีคะ

1 ความคิดเห็น: